วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

วัดถ้ำเมืองนะ





................................................
ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสได้ไปทำบุญที่วัดบ่อยมากนัก แต่ปรารถนาที่จะไปอยู่เสมอ ยังโชคดีที่ข้าพเจ้ามีพี่สาวและน้องสาว
ที่ประเสิร์ฐนักแนะนำให้ข้าพเจ้ารู้จักวัดถ้ำเมืองนะที่สามารถไปได้ทุกเวลา ที่ต้องการ แม้ไม่ได้ซึมซับ รับเอาพระธรรมโดยตรง
แต่ก็ทำให้ข้าพเจ้าเห็นทางสว่างในหลายเรื่อง แม้แต่เรื่องที่ข้าพเจ้าหาทางออกให้กับปัญหาของชีวิต ของข้าพเจ้า
มาถึงตอนนี้ ข้าพเจ้าได้ค้นพบทางออกนั้นได้แล้ว ด้วยบารมี แห่งพุทธศาสนา และข้าพเจ้าสำนึกในไมตรีจิตที่พี่สาว
และน้องสาวของข้าพเจ้าได้มอบให้ในครั้งนี้ ขออวยพรให้ทั้งสองมีความสุข และอิ่มเอม ตลอดจนทุกคนในครอบครัว....
นอกจากวัดถ้ำเมืองนะแล้ว ยังมีวัดสังฆทาน วัชรธาตุ ให้ผู้ที่สนใจได้อ่านรายละเอียดเล็กน้อยๆนี้
ขอให้ทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้ จงมีแต่ความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเทอญ

..............................................


ประวัติถ้ำเมืองนะ

ประวัติถ้ำเมืองนะ http://www.watthummuangna.com/________________________________________
ประวัติถ้ำเมืองนะ
ถ้ำเมืองนะ ตั้งอยู่ที่ด้านขวา ติดกับเส้นทางเดินทัพสายสำคัญ สมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า อยู่ห่างจากเขตแดนไทย-พม่า ฝั่งประเทศไทย ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ขณะนี้บริเวณนี้เป็นที่ตั้งศูนย์อพยพไทยใหญ่ นับพันหลังคาเรือน ตามประวัติศาสตร์เส้นทางสายนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า ได้ใช้เดินทัพจะเข้าไปตีทัพอังวะที่มารุกราน เมืองงาย และเมืองแสนหวี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โดยเสด็จยกทัพไปทางเมืองเชียงใหม่ และทรงพักทัพที่เมืองเชียงใหม่ เพื่อสักการะพระพุทธสิหิงค์ และทรงเสด็จยกทัพไปตั้งค่ายใหญ่ที่ เมืองงาย จากเมืองงาย ก็ทรงเสด็จยกทัพผ่านเมืองนะ เข้าสู่เขตทุ่งแก้วของเมืองหาง (ขณะนี้ อยู่ในเขตประเทศพม่า เรียกว่า เมืองต่วน) เพื่อจะไปตีทัพอังวะ ที่บริเวณทุ่งแก้วนี้ พระองค์ท่านได้เกิดประชวรด้วย "ไข้ทรพิษ"
ถ้ำเมืองนะ อยู่ติดกับเส้นทางเดินทัพ มีลักษณะตั้งอยู่สูงกว่าพื้นที่ราบประมาณ ๘ เมตร จุคนได้ประมาณ ๒๐-๓๐ คน เป็นถ้ำตัน สภาพเป็นพื้นเรียบ แต่ที่น่าแปลกคือ ที่ปากถ้ำมีร่องรอยของการทลายปากถ้ำให้กว้างออก และมีการนำหินจำนวนมากมาทำเป็นทางลาด (ลักษณะเดิมอาจจะเป็นหน้าผาค่อนข้างจะชัน เหมือนบริเวณใกล้เคียง) ขนาดกล้างประมาณ ๕ เมตร เพื่ออาจจะใช้เป็นทางขึ้นลง ด้วยคนจำนวนมากในคราวเดียวกัน (ผิดปกติจากถ้ำทั่วๆ ไป)

สภาพของหินที่ถูกทำลายที่ปากถ้ำ และหินที่นำมาทำทางขึ้นลง มีการสึกกร่อนทางธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปี ถึงจะมีสภาพแบบนั้นได้ และเมื่อย้อนหลังไปเมื่อหลายร้อยปี (ดูจากสภาพหินที่ถูกทลายปากถ้ำ และหินที่นำมาทำทางขึ้นลง) บริเวณนี้ก็ยังคงจะเป็นป่าดงดิบ จะมีคนจำนวนมากมายทลายปากถ้ำได้ และนำหินก้อนโตๆ มาถมเป็นทางขึ้น-ลงได้ ก็เฉพาะคนที่มากับกองทัพเท่านั้น และถ้ายามปกติ คนในกองทัพก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปทำลายปากถ้ำ ให้กว้างออกและทำทางขึ้นลงที่มีขนาดใหญ่ เพราะตัวถ้ำมีขนาดเล็กและตัน คงจะไม่มีสิ่งใดสำคัญที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ด้วยคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ขึ้นไปเก็บหรือนำลงมา หรือมีน้ำหนักมากจนต้องทำทางขนาดใหญ่ขึ้นไปรองรับ และในประวัติศาสตร์เท่าที่พอทราบอยู่บ้าง บางส่วนก็ไม่ปรากฎว่าได้ของสำคัญอะไร รวมทั้งไม่มีพวกโบราณสถาน หรือชุมชนใหญ่อยู่ในบริเวณแถวนี้
__________________
ข้อสันนิษฐาน
จะเป็นไปได้ไหมว่า องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า ซึ่งทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตบริเวณนี้ อาจจะมาเสด็จสวรรคต ณ ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เขตทุ่งแก้วในประเทศพม่า ดังที่เข้าใจกันตามประวัติศาสตร์ก็อาจจะเป็นไปได้ โดยได้มีการเคลื่อนย้ายพระบรมศพออกจากถ้ำ ด้วยคนจำนวนมาก เพื่อให้สมพระเกียรติ จึงมีการทลายปากถ้ำให้กว้าง เพื่อให้คนจำนวนมากเข้าออกได้สะดวก และทำทางลาดขึ้น-ลงที่มีขนาดใหญ่ เพื่อแห่พระบรมศพไปยังที่ตั้งค่ายใหญ่ที่เมืองงาย ก่อนจะแห่พระบรมศพกลับกรุงศรีอยุธยา และในบริเวณแถวนี้ ก็ไม่มีเจ้านายชั้นสูงพระองค์ใด ทั้งไทย-พม่า-เชียงใหม่ มาสิ้นพระชนม์ นอกจาก สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า พระองค์เดียว


ลักษณะภายในถ้ำ
ภายในถ้ำมีแท่นหินขนาดคนนอนได้สบาย แต่ขณะนี้ได้มีสำนักสงฆ์เกิดขึ้นที่นี่ และได้ใช้ไม้กระดานปูยกพื้นเหนือแท่นหิน เป็นที่ตั้งของพระพุทธรูป และมีการตกแต่งพื้นถ้ำด้วยปูนซีเมนต์ทำให้เปลี่ยนสภาพที่แท้จริงไป สอบถามจากพระที่สำนักสงฆ์ได้ทราบว่า "หลวงปู่ดู่" แห่งวัดสะแก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งไม่เคยออกนอกเขตวัด นับตั้งแต่อุปสมบทจนมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ (ท่านเคยออกธุดงค์ ๑ ครั้งครับผม-leo_tn) ชาวอยุธยาถือว่าท่านเป็นเกจิรูปหนึ่งของอยุธยา ท่านได้บอกให้คณะศิษย์มาตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่ถ้ำนะนี้ เพราะว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า ทรงเสด็จมาสวรรคต ณ ถ้ำแห่งนี้ ด้วยการให้ พระวรงคต วิริยะธโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ออกธุดงค์ไปค้นหาจนพบ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ได้สอบถามชายชาวไทยใหญ่อายุประมาณ ๖๐ ปี ความว่า ตั้งแต่เขตทุ่งแก้ว (เมืองต่วน) ในพม่า และตั้งแต่เขตแดนไทย ตามล่องเขาทางเดินทัพ จนถึงเมืองงายพบเห็นถ้ำที่ไหนบ้าง ที่มีการทำลายปากถ้ำให้กว้างออก และมีการทำทางขึ้น-ลงที่มีขนาดใหญ่ เหมือนกับถ้ำที่เมืองนะนี่บ้างหรือไม่ ก็ได้คำตอบจากชาวไทยใหญ่บอกว่า ไม่มี และยังบอกต่อไปว่า บริเวณแถวนี้ เคยเดินหาของป่า ตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ก็เห็นลักษณะถ้ำแบบนี้ที่เดียว คือ ถ้ำเมืองนะ นี้เท่านั้น
__________________
ข้อมูลตำบลเมืองนะ
ประวัติความเป็นมา :
ตำบลเมืองนะ จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ซึ่งเล่าเป็นนิทานว่า เมืองนี้เคยมีพระสมณโคดมมาโปรดมนุษย์สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเทือกเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย ปัจจุบันเรียกว่า "สันดอยถ้วย" พระพุทธองค์ทรงประทับใต้ต้นไม้ใหญ่ เมื่อประชาชนทั้งหลายทราบก็พากันไปสักการะบูชา ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นแม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ไปร่วมกันสักการะบูชาด้วย ในบรรดาสัตว์เหล่านั้นมีพญาช้างเผือกเชือกหนึ่งเกิดความศรัทธา ฏ็เก็บเอาผลไม้ถวายคือ ผลนะ (ลูกสมอ) พอพระพุทธเจ้ารับผลนะก็กลายเป็นทองคำทันที พญาช้างเผือกจึงถวายตัวรับใช้เป็นทาส ต่อมาวันหนึ่งพญาช้างเผือกลงไปเล่นน้ำในลำธารใกล้ ๆ มีพรานป่าใจอำมหิตมาพบเข้า จึงรุมทำร้ายพญาช้างเผือกจนขาดใจตาย ร่างของพญาช้างเผือกค่อย ๆ จมลง ๆ และหายไป ก็พอดีไปพบเข้ากับพระพุทธเจ้าเข้า พระองค์ท่านทรงเทศนาสั่งสอนจนพวกพรานป่าเลิกทำความชั่ว และตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งชื่อบริเวณนี้ "เมืองนะ" มาจนถึงปัจจุบัน

สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่เทือกเขาสลับกับที่ราบ มีเนื้อที่ประมาณ 486 ตร.กม. หรือประมาณ 303,800 ไร่

อาณาเขตตำบล :

ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมาร์
ทิศใต้ ติดกับ ต.ทุ่งข้าวพวง และ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่

จำนวนประชากรของตำบล :

จำนวนประชากรในเขต อบต. 26,825 คน และจำนวนหลังคาเรือน 6,323 หลังคาเรือน

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. ถ้ำ - ป่าหก
2. ถ้ำเมืองนะ
3. ถ้ำเมืองดอยกลางเมือง
4. ถ้ำผาชัน
5. น้ำตกทุ่งแก้ว
6. น้ำตกศรีสังวาลย์
7. น้ำตกห้วยหก
8. ออบปิง

ที่มา : http://www.thaitambon.com/Tambon/ttambon.asp?ID=500402
__________________


ร่วมสร้าง พระแก้วแดง มหากุศลถวายวัดพุทธพรหมปัญโญ

แผนที่ไปวัดสะแกแผนที่ไปวัดถ้ำเมืองนะ

http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=140

ดูรูปภาพเพิ่มเติม
http://www.watthummuangna.com/album/

สมัครสมาชิกhttp://watthummuangna.com/board/register.php

ห้องสนทนาธรรม
http://www.watthummuangna.com/chat/

วัตถุมงคลhttp://watthummuangna.com/board/showthread.php?t=1860

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

วัด และ วัตถุมงคล

พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
และพระอรหันตธาตุ ประจำปีที่ ๔

ภาพบรรยากาศ : พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

และพระอรหันตธาตุ ประจำปีที่ ๔

พิมพ์ อีเมล์
PDF



รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่...วัดสังฆทาน

http://sanghathandhamma.com/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1

วัด และ วัตถุมงคล

การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหากษัตริย์อินเดีย ที่ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ สำหรับเรื่องพระบรมสาริกธาตุได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี การบันทึกทางประวัติศาสตร์ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

ยุคทวาราวดี

เราพบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมายที่แสดงว่า อย่างน้อยพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นอย่างช้าโดยมีศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ในแถบภาคกลาง โดยเฉพาะที่จังหวัดนครปฐม เราพบร่องรอยของสถูปโบราณ ทั้งที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ จุลประโทนและนครชัยศรี นอกจากนี้พบที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่ซากโบราณสถานเหล่านี้เป็นฐานสถูปที่สำคัญ และน่าจะเป็นสถูปที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุตามแบบสถูปในลัทธิเถรวาท แต่ไม่อาจกล่าวได้อย่างแน่ชัด เพราะยังไม่พบจารึกที่กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ๑๕ หรือสมัยทวาราวดี แต่ได้พบผอบบรรจุพระบรมธาตุ จากการขุดค้นที่คูบัว จังหวัดราชบุรี

ยุคสุโขทัย

อย่างไรก็ดี มีการพบจารึกที่พรรนาเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุหลายครั้งในสมัยสุโขทัย ตั้งแต่รัชกาลพ่อขุนรามคำแหงดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งจารึกขึ้นในราว พ.ศ. ๑๘๓๕ มีการกล่าวถึง พ่อขุนรามคำแหง ทรงช้างเผือกชื่อรูจาศรี ไปนบพระที่อรัญญิกและพระศรีรัตนธาตุ พระศรีรัตนธาตุหรือพระมหาธาตุมักจะเป็นคำเรียกสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและน่าจะกล่าวได้ว่า ในสมัยสุโขทัยถือว่าพระมหาธาตุในแต่ละเมืองคือ หลักเมืองของแต่ละเมืองนั่นเอง

จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ กล่าวว่าในมหาศักราช ๑๒๐๗ พ่อขุนรามคำแหง ได้ขุดเอาพระธาตุออกให้คนทั้งหลายได้เห็นและกระทำบูชาแก่พระธาตุได้ ๖ วัน จึงเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือ ( ครอบไว้ ) ๖ ปี จึงสร้างเสร็จ ซึ่งจากข้อความในจารึกนี้ แสดงให้เห็นว่าสมัยนั้นมีความศรัทธาต่อพระบรมสารีริกธาตุเป็นอย่างยิ่งเพราะเปรียบประดุจองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีเดียว

ต่อมาในมหาศักราช ๑๒๗๙ พระยาลือไทยราชพระโอรสพระยาเลอไทยและเป็นพระนัดดาพ่อขุนรามคำแหง เมื่อเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระยาศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช พระองค์ทรงอัญเชิญพระมหาธาตุจากลังกา มาประดิษฐานสถาปนาในเมืองนครชุม พร้อมทั้งทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์

นอกจากนี้จากศิลาจารึกวัดศรีชุม ซึ่งจารึกประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๔
๑๙๑๐ ในด้านที่ ๑ ได้กล่าวถึง สมเด็จพรมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีศรีรัตนลงกาทีปมหาสามีเป็นเจ้าประสูติในนครสรลวงสองแคว โอรสพ่อขุนผาเมือง พระอัยกาคือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ประดิษฐานพระศรีรัตนมหาธาตุใกล้ฝั่งน้ำ ในนครสุโขทัย ก่อพระทันตธาตุ ซึ่งพระทันตธาตุ แสดงปฏิหาริย์ ๓ เดือน ก่อให้เกิดเป็นอัศจรรย์ การสร้างพระมหาธาตุนั้นก็กล่าว สร้างสูง ๙๕ วา ครอบทับเหนือที่ประดิษฐานพระธาตุหลวง ไม้ที่สร้างนั้นมีขนาดใหญ่ ๒
๓ คนโอบแล้วก่ออิฐถือปูนสูง ๗ วา รวมความสูงเป็น ๑๐๒ วา

อนึ่ง ทางล้านนาก็พบว่ามีจารึกแสดงปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งจารึก พ.ศ. ๑๙๑๓ ในด้านที่ ๒ กล่าวว่า ศักราช ๗๓๑ พญาธรรมิกราชทรงสรงพระธาตุ และบูชาด้วยเครื่องบูชาพิเศษหลายอย่าง จนครบ ๓ วัน แล้วพระธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์เวียนไปมาในสุพรรณภาชน์ ( ขันทองคำ ) และเปล่งรัศมีสกาว

จากจารึกวัดช้างล้อม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จารึก พ.ศ. ๑๙๒๗ ด้านที่ ๒ กล่าวถึง สมเด็จพระมหาธรรมราชา เมื่อทรงสร้างพระพุทธรูปศิลาก็ไดทอดพระเนตรเห็นพระศรีรัตนธาตุกระทำปาฏิหาริย์ สว่างดังลวดเงินเห็นเป็นขดขนาดใหญ่เท่าสื่อสาด เหนือกลางหาวงามนักหนาและพระยาศรีเทพาหูราชก็เห็นพระศรีรัตนธาตุกระทำปาฏิหาริย์พุ่งออกมาขนาดเท่าลูกพันลับลูกพุทธรักษา มีลักษณะใสดังผลึกรัตนแก้วเขียว ตรงกลางเห็นเป็นแก้วสีเขียว

อย่างไรก็ดีปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุมีปรากฏในสมัยอยุธยาอีกด้วย ดังข้อความในพระราชพงศาวดารในรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทหารปักหลักไว้ตรงที่บรมสารีริกธาตุปรากฏแล้วทรงสถาปนา ( สร้าง ) วัดมหาธาตุขึ้น พ.ศ ๑๙๑๗

ขอขอบคุณhttp://www.agalico.com/board/archive/index.php?f-50.html 50.html

มอบลูกแก้วพญานาคแด่ผู้ร่วมบุญโครงการวัชรธาตุ


มอบพลอยพญานาคหลากสัญฐานแด่ผู้ร่วมบุญกับกลุ่มวัชรธาตุ


วัตถุมงคลเหล่านี้คืออะไรรายละเอียดเพิ่มเติมหาดูได้ที่ ...................http://www.watcharathath.com/index.php